เมนู

7. เมตตาภาวสูตร


ว่าด้วยบุญไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 แห่งเมตตาจิต


[205] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ
มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง มีอุปธิสมบัติ
เป็นเหตุบุญกิริยาวัตถุทั้งหมดนั้น ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 แห่งเมตตาเจโต-
วิมุตติ เมตตาเจโตวิมุตตินั้นแล ครอบงำบุญกิริยาวัตถุเหล่านั้น สว่างไสว
ไพโรจน์เปรียบเหมือนรัศมีแห่งดาวชนิดใดชนิดหนึ่ง รัศมีดาวทั้งหมดนั้นย่อม
ไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 แห่งรัศมีพระจันทร์ รัศมีพระจันทร์นั่นแล ครอบงำรัศมีดาว
เหล่านั้น สว่างไสวไพโรจน์ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนในเมื่อ
อากาศโปร่งปราศจากเมฆในสารทสมัย ในเดือนท้ายแห่งฤดูฝน พระอาทิตย์
ลอยขึ้นไปสู่ท้องฟ้า กำจัดอากาศอันมืดทั้งปวง สว่างไสวไพโรจน์ฉะนั้น อนึ่ง
เปรียบเหมือนดาวประกายพฤกษ์ในปัจจุสสมัยแห่งราตรี สว่างไสวไพโรจน์
ฉะนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูจนนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ผู้ใดมีสติ เจริญเมตตาไม่มีประมาณ
สังโยชน์ทั้งหลาย ของผู้นั้นผู้พิจารณาเห็น
ซึ่งธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ ย่อมเป็น
ธรรมชาติเบาบาง ถ้าว่าผู้นั้นมีจิตไม่ประ-
ทุษร้ายซึ่งสัตว์มีชีวิต แม้ชนิดหนึ่ง เจริญ-

เมตตาอยู่ไซร้ ผู้นั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้มีกุศล
เพราะการเจริญเมตตานั้น อันพระอริย-
บุคคลมีใจอนุเคราะห์ซึ่งมีสัตว์มีชีวิตทุกหมู่-
เหล่า ย่อมกระทำบุญเป็นอันมาก พระ-
ราชฤาษีทั้งหลายทรงชนะซึ่งแผ่นดิน อัน
เกลื่อนกล่นด้วยหมู่สัตว์ ทรงบูชาอยู่ซึ่ง
บุญเหล่าใด ( คือ อัสสเมธะ ปุริสเมธะ
สัมมาปาสะ วาชเปยยะ นิรัคคฬะ) เสด็จ
เที่ยวไป บุญเหล่านั้นย่อไม่ถึงแม้เสี้ยวที่
16 แห่งเมตตาจิต อันบุคคลเจริญดีแล้ว
(เหมือนหมู่ดาวทั้งหมด ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่
16 แห่งรัศมีพระจันทร์ฉะนั้น) ผู้ใดมี
ส่วนแห่งจิตประกอบด้วยเมตตาให้สัตว์ทุก
หมู่เหล่า ย่อมไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า
ไม่ชนะเอง ไม่ใช่ผู้อื่นให้ชนะ เวรของ
ผู้นั้นย่อมไม่มีเพราะเหตุอะไร ๆ เลย.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.
จบเมตตาภาวสูตรที่ 7
จบตติยวรรคที่ 3

อรรถกถาเมตตาภาวสูตร


ในเมตตาภาวสูตรที่ 7 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ยานิ กานิจิ ได้แก่ บุญกิริยาวัตถุไม่มีเหลือ. บทว่า
อปธิกานิ ปุญฺญกิริยาวตฺถูนิ เป็นคำกำหนดถึงบุญกิริยาวัตถุเหล่านั้น.
ขันธ์ทั้งหลายท่านเรียกว่าอุปธิในบทนั้น. ศีลเป็นเหตุแห่งอุปธิ หรือ ความ
ขวนขวายอันเป็นอุปธิของขันธ์เหล่านั้น ชื่อว่า โอปธิกะ (มีอุปธิสมบัติเป็นเหตุ)
ทำให้เกิดในอัตภาพในสมบัติภพ คือ ให้ผลอันเป็นไปในปฏิสนธิ. บทว่า
ปุญฺญกิริยาวตฺถูนิ คือ ชื่อว่าบุญกิริยาวัตถุ เพราะเป็นบุญกิริยาและเป็น
วัตถุแห่งผลานิสงส์นั้น ๆ. ก็บุญกิริยาวัตถุเหล่านั้นโดยย่อมี 3 อย่าง คือ
ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ 1 สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล 1 ภาวนา-
มัย บุญสำเร็จด้วยการภาวนา 1. ในบุญกิริยาวัตถุ 3 อย่างนั้น ข้อที่ควร
กล่าวจักมีแจ้งในอรรถกถาติกนิบาตต่อไป.
บทว่า เมตฺตาย เจโตวิมุตฺติยา ได้แก่การเข้าฌานหมวด 3
และหมวด 4 ที่ได้ด้วยเมตตาภาวนา. ก็เมื่อกล่าวว่าเมตตาย่อมหมายทั้งอุปจาร
ทั้งอัปปนา. แต่เมื่อกล่าวว่า เจโตวิมุตฺติ ย่อมหมายถึงอัปปนาฌานอย่างเดียว.
ก็อัปปนาฌานนั้นท่านเรียกว่า เจโตวิมุตติ เพราะจิตพ้นด้วยดีจากธรรมอันเป็น
ข้าศึกมีนิวรณ์เป็นต้น. บทว่า กลํ นาคฺฆนฺติ โสฬสึ ได้แก่บุญกิริยา-
วัตถุมีอุปธิเป็นเหตุ ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 แห่งเมตตาธรรมวิหาร. ข้อนี้ท่าน
อธิบายไว้ว่า กระทำผลแห่งเมตตาเจโตวิมุตติให้เป็น 16 เสี้ยว คือ ให้เป็น
16 ส่วนแล้วทำส่วนหนึ่งจาก 16 ส่วนนั้นให้เป็น 16 ส่วนอีก บุญกิริยา-
วัตถุ มีอุปธิสมบัติเป็นเหตุเหล่าอื่น ยังไม่ถึงส่วนหนึ่งในส่วนที่ 16 นั้น.